
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552
Photography : Dual Nature

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
Color Management System
Color Management Primer: Overview
By : Jay Kinghornการจัดการสีเป็นเรื่องสำคัญในการถ่ายภาพดิจิทัล เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาการถ่ายดิจิทัลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการถ่ายภาพดิจิทัล เกี่ยวเนื่องด้วยอุปกรณ์อินพุท อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์เอ้าท์พุท บทความของ Jay Kinghorn บน Photo.net เรื่องนี้ให้ความเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
- Part I : Color Management Overview
- Part II : Monitor Profile
- Part III : Color Setting
- Part IV : Printer Profiling
Visual Anthropology การใช้สื่อทางด้านภาพ
เก็บมาเล่า เอามาฝาก 
นอกจากความรู้วิชาการการภาพถ่ายแล้ว ยังมีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่าย ที่เรียกว่า Visual Anthropology : คือการใช้สื่อทางด้านภาพกับความรู้ทางมานุษยวิทยา ซึ่งเป็นบทความของอานุภาพ สกุลงาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับนิยามของ Visual Anthropology คือการใช้สื่อทางด้านภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือภาพถ่าย มาใช้เป็นตัวช่วยเพื่อให้การเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยา หรือ ใครๆ ก็ตาม ให้มีหลักฐานในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้การการอ้างอิงถึง หรือบอกกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาในเชิงลึกต่อไปโดย ภาพถ่าย หรือภาพยนตร์ที่ปรากฏ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตีความสิ่งที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้นๆ เราอาจเรียกภาพถ่ายหรือภาพยนตร์เหล่านั้นว่า ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ประจักษ์ต่อสายตา และสิ่งที่ตามมาก็คือ การตีความเนื้อหาของภาพที่เกิดขึ้น บวกกับประสบการณ์และความรู้สึกของผู้ถ่ายภาพนั้นๆ
"ไม่ว่าคำบรรยายภาพ จะเกิดจากประเด็นของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเองแล้ว (ในฐานะที่เป็นผู้ถ่ายภาพ และรับรู้ถึงอารมณ์ และบรรยากาศขณะที่ถ่ายมากที่สุด) หรือ ภาพที่ไม่มีการบรรยาย แต่เว้นที่ว่างให้ผู้ที่ดูภาพ คิด หรือจินตนาการเอง ก็ตาม ภาพทุกภาพ ย่อมมีเรื่องเล่า และสามารถเป็นหลักฐานได้อย่างดีสำหรับนักมานุษยวิทยาหรือใครก็ตามที่ถ่ายภาพ อย่างน้อยที่สุด ภาพแสดงสีหน้าที่ปราศจากอารมณ์ก็ทำให้เราตีความต่อไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในภาพนั้นกำลังคิดอะไร"
click เพื่ออ่านบทความ http://www.sac.or.th/web2007/article/youth/52-03-17-visual_anthropology.pdf
พรรณนาความชาติพันธุ์ว่าด้วยภาพ (visual ethnographic narrative)
ผู้ที่ใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกข้อมูลกล่าวถึง “ความเป็นวัตถุวิสัย” ของกล้องซึ่งหมายถึงข้อมูลภาพถ่ายที่มี ความเชื่อถือ และ คุณค่า ในความหมายทางสังคมวิทยา หมายถึงช่างถ่ายภาพคนที่สองสามารถกลับมาสอบทานภาพที่ได้บันทึกไว้ และสำเนาจะภาพแรก และต่อมานั้น ภาพถ่ายังคงข้อมูลที่ตรงต่อวัตถุที่ถูกบันทึกไว้การทำงานของช่าวภาพจากมุมมองเช่นนี้สะท้อนได้จากการจัดเก็บภาพสถาปัตยภรรมพื้นถิ่น การจัดพื้นที่ส่วนต่างๆ ในบ้าน อาคาร พื้นที่โล่ง ถนน ระบบชลประทาน และการศึกษาพฤติกรรมทางวัฒนธรรม พื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิต ... บทความโดยชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
click เพื่ออ่านบทความhttp://www.sac.or.th/web2007/article/film/20071220_visualnarrative_chewasit.pdf
ภาพประกอบจาก http://socialdocumentary.net/

นอกจากความรู้วิชาการการภาพถ่ายแล้ว ยังมีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่าย ที่เรียกว่า Visual Anthropology : คือการใช้สื่อทางด้านภาพกับความรู้ทางมานุษยวิทยา ซึ่งเป็นบทความของอานุภาพ สกุลงาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับนิยามของ Visual Anthropology คือการใช้สื่อทางด้านภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือภาพถ่าย มาใช้เป็นตัวช่วยเพื่อให้การเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยา หรือ ใครๆ ก็ตาม ให้มีหลักฐานในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้การการอ้างอิงถึง หรือบอกกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาในเชิงลึกต่อไปโดย ภาพถ่าย หรือภาพยนตร์ที่ปรากฏ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตีความสิ่งที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้นๆ เราอาจเรียกภาพถ่ายหรือภาพยนตร์เหล่านั้นว่า ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ประจักษ์ต่อสายตา และสิ่งที่ตามมาก็คือ การตีความเนื้อหาของภาพที่เกิดขึ้น บวกกับประสบการณ์และความรู้สึกของผู้ถ่ายภาพนั้นๆ
"ไม่ว่าคำบรรยายภาพ จะเกิดจากประเด็นของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเองแล้ว (ในฐานะที่เป็นผู้ถ่ายภาพ และรับรู้ถึงอารมณ์ และบรรยากาศขณะที่ถ่ายมากที่สุด) หรือ ภาพที่ไม่มีการบรรยาย แต่เว้นที่ว่างให้ผู้ที่ดูภาพ คิด หรือจินตนาการเอง ก็ตาม ภาพทุกภาพ ย่อมมีเรื่องเล่า และสามารถเป็นหลักฐานได้อย่างดีสำหรับนักมานุษยวิทยาหรือใครก็ตามที่ถ่ายภาพ อย่างน้อยที่สุด ภาพแสดงสีหน้าที่ปราศจากอารมณ์ก็ทำให้เราตีความต่อไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในภาพนั้นกำลังคิดอะไร"
click เพื่ออ่านบทความ http://www.sac.or.th/web2007/article/youth/52-03-17-visual_anthropology.pdf
พรรณนาความชาติพันธุ์ว่าด้วยภาพ (visual ethnographic narrative)

click เพื่ออ่านบทความhttp://www.sac.or.th/web2007/article/film/20071220_visualnarrative_chewasit.pdf
ภาพประกอบจาก http://socialdocumentary.net/
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การใช้ประโยชน์ flickr ในการสร้าง Portfolio บนเว็บไซท์
www.flickr.com เป็นเว็บไซท์ที่ให้บริการทางด้านภาพถ่าย ที่เป็นที่รู้จักของผู้รักการถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก และใช้เว็บไซท์นี้เป็นที่โชว์ภาพอวดภาพของตนเองต่อโลก สมาชิกประเภททั่วไปเมื่อสมัครเป็นสมาชิกก็สามารถ Upload ภาพถ่ายของตนเองขนาด ไม่เกิน 5 MB (JPG) ขึ้นไปบนเว็บไซท์นี้ได้เดือนละ 100 MB และมีบริการที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่างบนไซท์นี้ที่น่าสนใจทีเดียว และเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เห็นภาพถ่ายของช่างภาพทั้งอาชีพ สมัครเล่น และภาพอื่น ๆ อีกมากมายที่สร้างสรรค์มาแสดงไว้
ในฐานะผู้สอนด้านการถ่ายภาพดิจิทัลเห็นว่าเว็บไซท์นี้ น่าจะใช้เป็นที่แสดงผลงานของนักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่ายได้ในลักษณะคล้าย ๆ กับการทำ Portfolio ได้ จึงแนะนำให้นักศึกษาได้ใช้้ประโยชน์จากเว็บไซท์นี้ในการแสดงผลงานภาพถ่ายของตนเองคล้ายการทำ Portfolio และต่อไปนี้เป็นลิงค์ที่เป็นผลงานของนักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่ายที่จัดทำไว้บนเว็บไซท์นี้
ชนพล ราชพิตร : http://www.flickr.com/photos/rajamahal/
นุชา ใจทิพย์ : http://www.flickr.com/photos/28774259@N06/
พีรพัฒน์ มูลเงิน : http://www.flickr.com/photos/mrchalee
เพ็ญพิศ เลอเลิศวิชยา : http://www.flickr.com/photos/b_tmp/
ณัฐภัทร หงษ์ทอง : http://www.flickr.com/photos/42883416@N03/
พลากร เกษมสุข : http://www.flickr.com/photos/25068314@N02/
napat siriphalakornkit : http://www.flickr.com/photos/40645538@N03/
Puchong Moranarong : http://www.flickr.com/photos/puchong_m/
ชนพล ราชพิตร : http://www.flickr.com/photos/rajamahal/
นุชา ใจทิพย์ : http://www.flickr.com/photos/28774259@N06/
พีรพัฒน์ มูลเงิน : http://www.flickr.com/photos/mrchalee
เพ็ญพิศ เลอเลิศวิชยา : http://www.flickr.com/photos/b_tmp/
ณัฐภัทร หงษ์ทอง : http://www.flickr.com/photos/42883416@N03/
พลากร เกษมสุข : http://www.flickr.com/photos/25068314@N02/
napat siriphalakornkit : http://www.flickr.com/photos/40645538@N03/
Puchong Moranarong : http://www.flickr.com/photos/puchong_m/
สาขาศิลปภาพถ่ายร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่ายบ้านเมืองของเรา ครั้งที่ 8

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ภาพสามมิติที่บึงสีไฟ พิจิตร


ภาพสามมิติที่บึงสีไฟ พิจิตร เป็นภาพถ่ายจากมุมสูงที่สร้างเป็นหอ เป็นมุมสำหรับถ่ายภาพ ที่พื้นเป็นภาพวาดน้ำตก และภาพชาละวันคาบนางตะเภาแก้ว น้ำหนักของแสงที่ตกลงบนพื้นภาพวาดที่ให้น้ำหนักแสงเงาไว้แล้วทำให้เกิดมิติขึ้นมา เป็นความคิดที่น่าสนใจ มีผู้คนไปเที่ยวถ่ายรูปกันมากมาย บึงสีไฟกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนไปถ่ายภาพสามมิติกันมากมาย
Congratulation
ดร. วราวรรณ สุวรรณผาติ เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "ผู้บริหารหน่วยงานสหกิจศึกษาในสถานศึกษา"

ดร. วราวรรณ สุวรรณผาติ สาขาศิลปภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ ประธานโครงการสหกิจศึกษาของคณะศิลปะและการออกแบบ เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสหกิจศึกษา รุ่นที่ 3 หลักสูตร "ผู้บริหารหน่วยงานสหกิจศึกษาในสถานศึกษา" ระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จัดโดยสมาคมสหกิจศึกษาไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเข้ารับสัมฤทธิบัตรจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทยเมื่อจบหลักสูตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมสหกิจศึกษาไทยได้ที่ URL : http://www.tace.or.th/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)