วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Visual Anthropology การใช้สื่อทางด้านภาพ

เก็บมาเล่า เอามาฝาก










นอกจากความรู้วิชาการการภาพถ่ายแล้ว ยังมีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่าย ที่เรียกว่า Visual Anthropology : คือการใช้สื่อทางด้านภาพกับความรู้ทางมานุษยวิทยา ซึ่งเป็นบทความของอานุภาพ สกุลงาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับนิยามของ Visual Anthropology คือการใช้สื่อทางด้านภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือภาพถ่าย มาใช้เป็นตัวช่วยเพื่อให้การเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยา หรือ ใครๆ ก็ตาม ให้มีหลักฐานในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้การการอ้างอิงถึง หรือบอกกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาในเชิงลึกต่อไปโดย ภาพถ่าย หรือภาพยนตร์ที่ปรากฏ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตีความสิ่งที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้นๆ เราอาจเรียกภาพถ่ายหรือภาพยนตร์เหล่านั้นว่า ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ประจักษ์ต่อสายตา และสิ่งที่ตามมาก็คือ การตีความเนื้อหาของภาพที่เกิดขึ้น บวกกับประสบการณ์และความรู้สึกของผู้ถ่ายภาพนั้นๆ

"ไม่ว่าคำบรรยายภาพ จะเกิดจากประเด็นของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเองแล้ว (ในฐานะที่เป็นผู้ถ่ายภาพ และรับรู้ถึงอารมณ์ และบรรยากาศขณะที่ถ่ายมากที่สุด) หรือ ภาพที่ไม่มีการบรรยาย แต่เว้นที่ว่างให้ผู้ที่ดูภาพ คิด หรือจินตนาการเอง ก็ตาม ภาพทุกภาพ ย่อมมีเรื่องเล่า และสามารถเป็นหลักฐานได้อย่างดีสำหรับนักมานุษยวิทยาหรือใครก็ตามที่ถ่ายภาพ อย่างน้อยที่สุด ภาพแสดงสีหน้าที่ปราศจากอารมณ์ก็ทำให้เราตีความต่อไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในภาพนั้นกำลังคิดอะไร"

click เพื่ออ่านบทความ http://www.sac.or.th/web2007/article/youth/52-03-17-visual_anthropology.pdf

พรรณนาความชาติพันธุ์ว่าด้วยภาพ (visual ethnographic narrative)

ผู้ที่ใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกข้อมูลกล่าวถึง “ความเป็นวัตถุวิสัย” ของกล้องซึ่งหมายถึงข้อมูลภาพถ่ายที่มี ความเชื่อถือ และ คุณค่า ในความหมายทางสังคมวิทยา หมายถึงช่างถ่ายภาพคนที่สองสามารถกลับมาสอบทานภาพที่ได้บันทึกไว้ และสำเนาจะภาพแรก และต่อมานั้น ภาพถ่ายังคงข้อมูลที่ตรงต่อวัตถุที่ถูกบันทึกไว้การทำงานของช่าวภาพจากมุมมองเช่นนี้สะท้อนได้จากการจัดเก็บภาพสถาปัตยภรรมพื้นถิ่น การจัดพื้นที่ส่วนต่างๆ ในบ้าน อาคาร พื้นที่โล่ง ถนน ระบบชลประทาน และการศึกษาพฤติกรรมทางวัฒนธรรม พื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิต ... บทความโดยชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

click เพื่ออ่านบทความhttp://www.sac.or.th/web2007/article/film/20071220_visualnarrative_chewasit.pdf

ภาพประกอบจาก http://socialdocumentary.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น