วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Photography : Dual Nature

วิชาการทางด้านการถ่ายภาพ (Photography) มีที่มาจากศาสตร์ 2 แขนง คือมีรากฐานจาก Science และ Philosophy หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นทั้ง Technology และ Art ประกอบกันขึ้นเป็น Photography จากภาพประกอบคงพอทำให้เข้าใจความเป็น Dual Nature ของ Photography ได้

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Color Management System

Color Management Primer: Overview

By : Jay Kinghorn

การจัดการสีเป็นเรื่องสำคัญในการถ่ายภาพดิจิทัล เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาการถ่ายดิจิทัลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการถ่ายภาพดิจิทัล เกี่ยวเนื่องด้วยอุปกรณ์อินพุท อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์เอ้าท์พุท บทความของ Jay Kinghorn บน Photo.net เรื่องนี้ให้ความเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

Visual Anthropology การใช้สื่อทางด้านภาพ

เก็บมาเล่า เอามาฝาก










นอกจากความรู้วิชาการการภาพถ่ายแล้ว ยังมีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่าย ที่เรียกว่า Visual Anthropology : คือการใช้สื่อทางด้านภาพกับความรู้ทางมานุษยวิทยา ซึ่งเป็นบทความของอานุภาพ สกุลงาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับนิยามของ Visual Anthropology คือการใช้สื่อทางด้านภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือภาพถ่าย มาใช้เป็นตัวช่วยเพื่อให้การเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยา หรือ ใครๆ ก็ตาม ให้มีหลักฐานในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้การการอ้างอิงถึง หรือบอกกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาในเชิงลึกต่อไปโดย ภาพถ่าย หรือภาพยนตร์ที่ปรากฏ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตีความสิ่งที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้นๆ เราอาจเรียกภาพถ่ายหรือภาพยนตร์เหล่านั้นว่า ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ประจักษ์ต่อสายตา และสิ่งที่ตามมาก็คือ การตีความเนื้อหาของภาพที่เกิดขึ้น บวกกับประสบการณ์และความรู้สึกของผู้ถ่ายภาพนั้นๆ

"ไม่ว่าคำบรรยายภาพ จะเกิดจากประเด็นของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเองแล้ว (ในฐานะที่เป็นผู้ถ่ายภาพ และรับรู้ถึงอารมณ์ และบรรยากาศขณะที่ถ่ายมากที่สุด) หรือ ภาพที่ไม่มีการบรรยาย แต่เว้นที่ว่างให้ผู้ที่ดูภาพ คิด หรือจินตนาการเอง ก็ตาม ภาพทุกภาพ ย่อมมีเรื่องเล่า และสามารถเป็นหลักฐานได้อย่างดีสำหรับนักมานุษยวิทยาหรือใครก็ตามที่ถ่ายภาพ อย่างน้อยที่สุด ภาพแสดงสีหน้าที่ปราศจากอารมณ์ก็ทำให้เราตีความต่อไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในภาพนั้นกำลังคิดอะไร"

click เพื่ออ่านบทความ http://www.sac.or.th/web2007/article/youth/52-03-17-visual_anthropology.pdf

พรรณนาความชาติพันธุ์ว่าด้วยภาพ (visual ethnographic narrative)

ผู้ที่ใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกข้อมูลกล่าวถึง “ความเป็นวัตถุวิสัย” ของกล้องซึ่งหมายถึงข้อมูลภาพถ่ายที่มี ความเชื่อถือ และ คุณค่า ในความหมายทางสังคมวิทยา หมายถึงช่างถ่ายภาพคนที่สองสามารถกลับมาสอบทานภาพที่ได้บันทึกไว้ และสำเนาจะภาพแรก และต่อมานั้น ภาพถ่ายังคงข้อมูลที่ตรงต่อวัตถุที่ถูกบันทึกไว้การทำงานของช่าวภาพจากมุมมองเช่นนี้สะท้อนได้จากการจัดเก็บภาพสถาปัตยภรรมพื้นถิ่น การจัดพื้นที่ส่วนต่างๆ ในบ้าน อาคาร พื้นที่โล่ง ถนน ระบบชลประทาน และการศึกษาพฤติกรรมทางวัฒนธรรม พื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิต ... บทความโดยชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

click เพื่ออ่านบทความhttp://www.sac.or.th/web2007/article/film/20071220_visualnarrative_chewasit.pdf

ภาพประกอบจาก http://socialdocumentary.net/

Richard Avedon:Milan

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้ประโยชน์ flickr ในการสร้าง Portfolio บนเว็บไซท์

www.flickr.com เป็นเว็บไซท์ที่ให้บริการทางด้านภาพถ่าย ที่เป็นที่รู้จักของผู้รักการถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก และใช้เว็บไซท์นี้เป็นที่โชว์ภาพอวดภาพของตนเองต่อโลก สมาชิกประเภททั่วไปเมื่อสมัครเป็นสมาชิกก็สามารถ Upload ภาพถ่ายของตนเองขนาด ไม่เกิน 5 MB (JPG) ขึ้นไปบนเว็บไซท์นี้ได้เดือนละ 100 MB และมีบริการที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่างบนไซท์นี้ที่น่าสนใจทีเดียว และเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เห็นภาพถ่ายของช่างภาพทั้งอาชีพ สมัครเล่น และภาพอื่น ๆ อีกมากมายที่สร้างสรรค์มาแสดงไว้
ในฐานะผู้สอนด้านการถ่ายภาพดิจิทัลเห็นว่าเว็บไซท์นี้ น่าจะใช้เป็นที่แสดงผลงานของนักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่ายได้ในลักษณะคล้าย ๆ กับการทำ Portfolio ได้ จึงแนะนำให้นักศึกษาได้ใช้้ประโยชน์จากเว็บไซท์นี้ในการแสดงผลงานภาพถ่ายของตนเองคล้ายการทำ Portfolio และต่อไปนี้เป็นลิงค์ที่เป็นผลงานของนักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่ายที่จัดทำไว้บนเว็บไซท์นี้
ชนพล ราชพิตร : http://www.flickr.com/photos/rajamahal/
นุชา ใจทิพย์ : http://www.flickr.com/photos/28774259@N06/
พีรพัฒน์ มูลเงิน : http://www.flickr.com/photos/mrchalee
เพ็ญพิศ เลอเลิศวิชยา : http://www.flickr.com/photos/b_tmp/
ณัฐภัทร หงษ์ทอง : http://www.flickr.com/photos/42883416@N03/
พลากร เกษมสุข : http://www.flickr.com/photos/25068314@N02/
napat siriphalakornkit : http://www.flickr.com/photos/40645538@N03/
Puchong Moranarong : http://www.flickr.com/photos/puchong_m/

สาขาศิลปภาพถ่ายร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่ายบ้านเมืองของเรา ครั้งที่ 8



สาขาศิลปภาพถ่ายได้ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาของสาขาฯ เข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่ายหัวข้อ "บ้านเมืองของเรา" ครั้งที่ 8 ของมูลนิธิฌอง เอมีล การ์โรซ ในปีนี้มีการประกวดภาพเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ที่แสดงถึงการช่วยภาวะโลกร้อน และลดการใช้พลังงาน โครงการประกวดภาพของมูลนิธินี้จัดขึ้นทุกปี และเปลี่ยนหัวข้อการจัดประกวดไปเรื่อย ๆ ในแต่ละปี สาขาศิลปภาพถ่ายได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการนี้มาทุกปีเช่นกัน ในปีนี้ปิดรับภาพไปตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม และมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดเมื่อวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา และมีนักศึกษาของสาขาฯ ได้รับรางวัลชมเชย จำนวน 6 รางวัล

ภาพ "ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก" ของ สุธาทิพย์ อิ่มเพ็ง

ภาพ "คุณลุงสูบลมจักรยาน" ของ สุธาทิพย์ อิ่มเพ็ง

ภาพของ นฤพล วิจันทึก

ภาพ "3 ซ่าพากันปลูก" ของ ศรัณย์ ลักษณ์ลาวัณย์

ภาพ "ชีวิตสมถะ" ของ ปุลิน เวชโช



ภาพ "ถุงผ้าคลายร้อน" ของ ชนิดา ซุ่นทรัพย์


วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาพสามมิติที่บึงสีไฟ พิจิตร



ภาพสามมิติที่บึงสีไฟ พิจิตร เป็นภาพถ่ายจากมุมสูงที่สร้างเป็นหอ เป็นมุมสำหรับถ่ายภาพ ที่พื้นเป็นภาพวาดน้ำตก และภาพชาละวันคาบนางตะเภาแก้ว น้ำหนักของแสงที่ตกลงบนพื้นภาพวาดที่ให้น้ำหนักแสงเงาไว้แล้วทำให้เกิดมิติขึ้นมา เป็นความคิดที่น่าสนใจ มีผู้คนไปเที่ยวถ่ายรูปกันมากมาย บึงสีไฟกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนไปถ่ายภาพสามมิติกันมากมาย

Congratulation


วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คนจะก้าวพ้นทุกข์ได้ ด้วยความเพียร

สาขาศิลปภาพถ่าย ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตของสาขาศิลปภาพถ่ายทุกคน ที่บากบั่น อุตสาหะ วิริยะ จนสามารถมีวันนี้ วันที่ทุกคนประสบความสำเร็จการศึกษา ขอแสดงความยินดี


ดร. วราวรรณ สุวรรณผาติ เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "ผู้บริหารหน่วยงานสหกิจศึกษาในสถานศึกษา"


รับสัมฤทธิบัตรจากศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย

ถ่ายภาพร่วมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ดร. วราวรรณ สุวรรณผาติ สาขาศิลปภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ ประธานโครงการสหกิจศึกษาของคณะศิลปะและการออกแบบ เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสหกิจศึกษา รุ่นที่ 3 หลักสูตร "ผู้บริหารหน่วยงานสหกิจศึกษาในสถานศึกษา" ระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จัดโดยสมาคมสหกิจศึกษาไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเข้ารับสัมฤทธิบัตรจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทยเมื่อจบหลักสูตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมสหกิจศึกษาไทยได้ที่ URL : http://www.tace.or.th/